top of page

เกี่ยวกับเรา

ป่าไม้และภูเขาอันงดงามของดงมะไฟ เกิดจากการยืดหยัดต่อสู้ของนักอนุรักษ์ และความร่วมมือที่แข็งขันของชุมชน

แด่ดงมะไฟ : เส้นทางการต่อต้านเหมืองหินของชุมชน

ชาวบ้านดงมะไฟลุกขึ้นมาต่อต้านการทำเหมืองนานร่วมสามทศวรรษ เพื่อปกป้องรักษาป่าและภูเขาที่เป็นสถานที่หล่อเลี้ยงชีวิตและจิตใจไว้ให้ลูกหลานต่อไป

photo_๒๐๒๓-๑๐-๑๔_๐๙-๑๙-๐๐.jpg

ตลอดระยะเวลาสามทศวรรษที่ผ่านมา ชาวดงมะไฟยืนหยัดอย่างแน่วแน่เพื่อปกป้องผืนแผ่นดิน และธรรมชาติจากการทำเหมืองหินที่คุกคามวิถีชีวิตของพวกเขา ด้วยความร่วมมือสามัคคีที่จะปกป้องผืนแผ่นดินบ้านเกิด และความหวงแหนต่อมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ชาวดงมะไฟสามารถปิดเหมืองหินได้สำเร็จ และยังต่อสู้อย่างไม่ย่อท้อ เพื่อเพิกถอนใบอนุญาตเหมืองที่รัฐอนุมัติในพื้นที่นี้อย่างถาวร 

 

การต่อสู้ที่เกิดขึ้นจากความเสียสละและความมุ่งมั่นของชาวบ้าน ได้กลายมาเป็นรากฐานที่สำคัญของชุมชนดงมะไฟ ในช่วงแรกเริ่มของการต่อสู้ สมาชิกผู้กล้าหาญของดงมะไฟ 4 คนได้เสียชีวิตลงอย่างน่าเศร้าจากการเผชิญหน้าต่อสู้กับบริษัทเหมืองแร่และเครือข่ายของบริษัท แม้จะเผชิญความเสี่ยง ชาวบ้านจำนวนมากยังคงเสียสละเวลาจากการทำไร่ไถนาและงานประจำ เพื่อเข้าร่วมเดินขบวนและนัดหมายขึ้นศาล การรวมกลุ่มขับเคลื่อนเพื่อต่อต้านเหมืองหินของชาวบ้านดงมะไฟนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยรักษาผืนดินทำกินแต่ยังช่วยปกป้องรักษาระบบนิเวศ และเสริมสร้างความสามัคคีในชุมชนอีกด้วย

 

การต่อสู้ของชาวบ้านดงมะไฟเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวและขบวนการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากชุมชนในภาคอีสาน ซึ่งตั้งอยู่บนทรัพยากรแร่ธาตุอันอุดมสมบูรณ์ มักตกเป็นเป้าหมายของบริษัทเหมืองแร่ที่แสวงหากำไร โดยส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่มีเจ้าของจากต่างชาติ เพื่อเผชิญกับภัยคุกคามเหล่านี้ ชุมชนในภาคอีสานจึงได้มีส่วนร่วมกับการก่อตั้งเครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ ซึ่งเชื่อมชุมชนในภาคอีสานกับองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อเพิ่มศักยภาพ รวมถึงความเข้มแข็งของชุมชนในการปกป้องผืนแผ่นดินเกิดอย่างยั่งยืนยิ่งขึ้น

 

การท่องเที่ยวที่ดงมะไฟจะช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการต่อสู้ที่ผ่านมาอย่างลึกซึ้ง ดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ของเราโอบล้อมด้วยหน้าผา 8 แห่ง และภูเขา 9 ลูก รวมถึงเทือกเขาเหล่าใหญ่ทางทิศตะวันตก เราปลูกข้าวในทุ่งนาเหล่านี้มาหลายชั่วอายุคน และยังคงหาอาหารจากป่าในท้องถิ่น เช่น หน่อไม้ เห็ด และพืชที่กินได้ ดินแดนแห่งนี้เป็นบ้านของเรามานับพันปี ภาพเขียนบนผนังถ้ำยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ภูผายา และเครื่องดนตรีโบราณ เช่น กลองมโหระทึกสำริด เป็นหลักฐานถึงสายสัมพันธ์อันยาวนานนี้

 

พวกเราหวังว่าการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่จะช่วยสร้างความตระหนักรู้ต่อภูมิภาคของเรา และการต่อสู้เพื่อรักษาระบบนิเวศพื้นถิ่นของจากธุรกิจเหมืองแร่ที่แสวงหาประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรม 

 

มาร่วมสืบค้นและดื่มด่ำประวัติศาสตร์อันยาวนานของดงมะไฟร่วมกับเรา ประตูในชุมชนของเราเปิดกว้างพร้อมที่จะต้อนรับผู้มาเยือน และหัวใจของพวกเราพร้อมที่จะเล่าเรื่องราวของหมู่บ้านที่เต็มไปด้วยเสน่ห์ จากการต่อสู้ การฟื้นฟูธรรมชาติ และความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยที่แน่นแฟ้นของผู้คนและระบบนิเวศที่ยาวนานหลายช่วงอายุคน

การต่อสู้ของชาวบ้านดงมะไฟ และกระบวนการฟื้นฟูธรรมชาตินั้นยังคงดำเนินต่อไป

โปรดอ่านในส่วนต่อไปเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับวิสัยทัศน์และเป้าหมายในปัจจุบันของพวกเรา

เป้าหมายของเรา

ชาวบ้านดงมะไฟได้ร่วมกันพัฒนาเป้าหมาย 3 ข้อ ที่เป็นหัวใจสำคัญในการนำพาชุมชนมาปกป้องผืนป่า และร่วมกันฟื้นฟู สังคมหลังจากที่เหมืองหินปิดตัวลง เป้าหมายของเราประกอบไปด้วย

ลำดับเหตุการณ์

ระยะที่ 1
 

การก่อตั้งกลุ่มอนุรักษ์ และเรียนรู้วิธีต่อสู้ทางกฎหมาย

Phu Pa Ya
IMG_3679.jpg

2536

  • เริ่มมีบริษัทฯ มายื่นขอสัมปทานภูผายา ต.ดงมะไฟ อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู เพื่อทำเหมืองหิน คนในชุมชนไม่เห็นด้วยจึงเริ่มรวมตัวกันคัดค้าน เพราะบนเขานั้นมีสำนักสงฆ์ และมีการสำรวจพบภาพเขียนสีประวัติศาสตร์ กรมศิลปากรจึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้เป็นแหล่งสำคัญทางโบราณคดี

2538

  • ชุมชนรวมตัวกันเคลื่อนไหวคัดค้านอย่างหนักเป็นเหตุให้นายบุญรอด ด้วงโคตะ และนายสนั่น  สุวรรณ ถูกลอบยิงเสียชีวิต จนปัจจุบันยังจับคนร้ายไม่ได้

2542

  • ปี 2542 กำนันทองม้วน คำแจ่ม แกนนำต่อสู้คนสำคัญ และนายสม หอมพรมมา ถูกยิงเสียชีวิต แต่ชาวบ้าน ต.ดงมะไฟ จำนวน 6 หมู่บ้าน ยังคงรวมตัวกันยืนหยัดต่อสู้ คัดค้านเหมืองหิน บนภูผาฮวกต่อไป อ่านเพิ่มเติม

2543

  • อุตสาหกรรมจังหวัดหนองบัวลำภู ให้อนุญาตประทานบัตรเหมืองหินแก่บริษัทบนภูผาฮวก มีระยะเวลาทำเหมืองหิน 10 ปี ตั้งแต่เดือนกันยายน 2543 – กันยายน 2553

photo_๒๐๒๓-๑๐-๑๒_๑๙-๐๔-๑๒.jpg

2544

  • ชาวบ้านชุมนุมประท้วง และใช้มาตราการปิดถนนที่เป็นเส้นทางขนเครื่องจักรกลของคนงานเหมือง แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าสลายการชุมนุมจนสามารถขนเครื่องจักรกลเข้าสู่พื้นที่จะทำเหมืองบนภูผาฮวกได้ ชาวบ้านจึงยื่นฟ้องศาลปกครองขอให้มีคำพิพากษาเพิกถอนประทานบัตรทำเหมืองหิน แต่ระหว่างการเรียกร้องมีแกนนำชุมชนถูกจับกุมดำเนินคดี 12 คน ในข้อหาวางเพลิงเผาที่พักคนงานเหมือง และโรงเก็บอุปกรณ์ ซึ่งศาลตัดสินจำคุก 2 ราย ส่วนอีก 10 ราย ศาลยกฟ้องในเวลาต่อมา

2547

  • ปี 2547 ศาลปกครองชั้นต้นมีคำพิพากษา เพิกถอนคำขอประทานบัตร 

ระยะที่ 2

ศาลกลับคำตัดสิน ทำให้เหมืองแร่ดำเนินต่อไป

2553

  • ศาลปกครองสูงสุดกลับคำพิพากษา คืนประทานบัตรให้บริษัททำเหมืองหิน แต่ประทานบัตรก็หมดอายุลงพอดี เป็นเหตุให้บริษัทต้องเริ่มขอต่อใบอนุญาตใหม่ รวมถึงการขอใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเพื่อเข้าทำเหมืองแร่ในพื้นที่อีกครั้ง

  • บริษัทได้รับการต่อใบอนุญาตการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และต่ออายุประทานบัตรอีกครั้ง คือตั้งแต่ 25 กันยายน 2553 - 24 กันยายน 2563 แม้ชุมชนจะยืนยันการคัดค้านอย่างต่อเนื่องก็ตาม

2555

2558

  • ตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่จำนวน 78 ราย ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองอุดรธานี เพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง เพิกถอนหนังสืออนุญาตเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเก่ากลอยและป่านากลาง รวมถึงเพิกถอนใบอนุญาตต่ออายุประทานบัตรของบริษัททำเหมือง

  • การเคลื่อนไหวครั้งนี้ได้รับพระราชทานธงเป็นสัญลักษณ์ของความพยายามในการปกป้องป่าไม้และสิ่งแวดล้อมอย่างแข็งขัน

2559

  • บริษัทฯ ดำเนินการระเบิดหิน ภูผาฮวก และเริ่มลำเลียง ขนถ่ายแร่ไปขาย

2561

  • ศาลปกครองอุดรธานี ได้มีคำพิพากษา (14 มีนาคม 2561) เพิกถอนหนังสืออนุญาตให้บริษัทเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเก่ากลอยและป่านากลาง เนื้อที่กว่า 175 ไร่ ระยะเวลา 10 ปี และเพิกถอนใบอนุญาตต่ออายุประทานบัตร

  • เนื่องจากภายหลังคู่ความได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด คดีจึงยังไม่ถึงที่สุด และอยู่ระหว่างการยื่นขอให้ศาลมีคำสั่งบรรเทาทุกข์ คุ้มครองชั่วคราวของชาวบ้าน บริษัทก็ได้ดำเนินกิจการระเบิดภูเขา ทำเหมืองและโรงโม่หิน พร้อมทั้งขนถ่ายลำเลียงแร่ เข้า-ออก ระหว่างพื้นที่เหมืองเรื่อยมา

ระยะที่ 3

การต่อสู้กลับและชัยชนะของชุมชนดงมะไฟ และแผนในการฟื้นฟูธรรมชาติ

photo_๒๐๒๓-๑๐-๑๓_๑๔-๓๗-๐๒ (2).jpg

2562

  • 7-12 ธันวาคม 2562 กลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนเขาเหล่าใหญ่ – ผาจันได ได้จัดกิจกรรม ‘เดิน-ปิด-เหมือง’ โดยออกเดินทางจากอำเภอสุวรรณคูหาไปยังอำเภอเมืองหนองบัวลำภู

  • ตลอดระยะทางได้สื่อสารผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในการทำเหมืองให้ประชาชนในจังหวัดหนองบัวลำภูได้ทราบ และเข้ายื่นหนังสือเรียกร้องให้มีการปิดเหมืองหินปูน ณ ศาลากลางจังหวัดหนองบัวลำภู

2563

  • 13 สิงหาคม 2563 ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนเขาเหล่าใหญ่-ผาจันได ได้เดินทางไปยังศาลากลางจังหวัดหนองบัวลำภู เพื่อเจรจากับผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตประทานบัตรเพื่อทำเหมืองแร่ เพื่อให้มีคำสั่งปิดและฟื้นฟูเหมืองหินดงมะไฟที่สร้างผลกระทบต่อชุมชนมายาวนานกว่า 26 ปี และพัฒนาพื้นที่นเป็นสถานที่ท่องเที่ยวต่อไป แต่การเจรจากล้มเหลว

  • ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ จึงได้พร้อมใจกันเดินทางกลับมาที่บริเวณทางเข้าเหมืองหินของ บริษัท ธ.ศิลาสิทธิ จำกัด เพื่อทำการปักหลักชุมนุมปิดเหมืองหินและโรงโม่ด้วยสองมือสองเท้าของตัวเอง จนกว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและดำเนินการตามข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อ ปิดเหมืองหินและโรงโม่ ฟื้นฟูภูผาป่าไม้ และพัฒนาดงมะไฟเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมและแหล่งอารยธรรมโบราณคดี และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านผาฮวกพัฒนาชาวประชาสามัคคี

  • วันที่ 13 สิงหาคม จึงถือเป็นวันสำคัญของขบวนการต่อต้านเหมือง และถูกนับเป็นวันครบรอบ โดยจะมีการจัดกิจกรรมรำลึกในวันนี้ของทุกปี

  • 4 กันยายน 2563 ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ จัดกิจกรรม ทวงคืนภูผาป่าไม้ ‘เปลี่ยนเขตเหมืองหินให้เป็นเขตป่าชุมชน’ หลังใบอนุญาตเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเก่ากลอยและป่านากลางหมดอายุลง

  • 25 กันยายน 2563 ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ จัดกิจกรรม 26 ปี การต่อสู้ สู่ชัยชนะ ‘เปลี่ยนโรงโม่หินเป็นป่าชุมชน หยุดเหมืองหินถาวร’ เนื่องจากใบประทานบัตรเพื่อทำเหมืองหินหมดอายุลงในวันที่ 24 กันยายน 2563 โดยชาวบ้านได้ร่วมกันเดินเท้าเข้าทวงคืนพื้นที่โรงโม่หิน ซึ่งได้ทำกิจกรรมในการหว่านเมล็ดพันธุ์พืชและปลูกต้นไม้

photo_๒๐๒๓-๑๐-๑๔_๐๙-๓๕-๔๗.jpg

ระยะที่ 4 (ปัจจุบัน)
 

สืบสานการต่อสู้และการฟื้นฟูดงมะไฟ

52D14B09-768A-4561-A66B-24C3D02EAD18_1_105_c.jpeg

2567

  • ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ชาวบ้านได้รับมติโหวตผ่านจาก อบต. ดงมะไฟในการยกเลิกให้เป็นพื้นที่การทำเหมืองแร่ 

  • กลุ่มอนุรักษ์ฯ จะทำการยื่นหนังสือนี้ให้มีมติในกรมอุตสาหกรรมจังหวัดต่อไป

PXL_20230616_095027747.jpg

ปัจจุบันและต่อจากนี้

  • นักปกป้องและอนุรักษ์ธรรมชาติดงมะไฟรุ่นที่ 4 (เยาวชนในชุมชนรุ่นปัจจุบัน) มีส่วนร่วมในการพัฒนาและฟื้นฟูดงมะไฟต่อไป เช่น การปลูกป่า และร่วมเป็นมัคคุเทศก์รุ่นเยาว์

  • ปัจจุบัน ชาวบ้านและกลุ่มอนุรักษ์ฯ ร่วมกันพัฒนาดงมะไฟให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวต่อไป 

bottom of page